ระเบียบและกฎหมาย
กฎหมายปกครองท้องถิ่น
ประวัติ[แก้]
กฎหมายปกครองท้องถิ่น เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน โดยกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่รวบรวมหลักเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐ (les pouvoirs publics) หรือระหว่างนิติบุคคลในกฎหมายหมาชน (les personal publics) กับเอกชน สามารถแบ่งกฎหมายมหาชนได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองโดยรัฐธรรมนูญ มีวัตถุประสงค์คือ วางระเบียบการปกครอง, การรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงต้องมีการแบ่งแยกอำนาจซึ่งแบ่งได้ดังนี้ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ สามอำนาจนี้เรียกว่าอำนาจอธิปไตย
สาเหตุ[แก้]
สาเหตุที่ต้องมีกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้กับฝ่ายปกครอง ก็เพราะว่าฝ่ายปกครองดำเนินการโดยไม่หวังผลประโยชน์แต่ในขณะเดียวกันเอกชนนั้นดำเนินการโดยหวังผลตอบแทน เพราะฉะนั้นเพื่อความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
พัฒนาการ[แก้]
พัฒนาการของกฎหมายปกครองในประเทศไทย เริ่มต้นในสมัยกรุงสุโขทัย(พ.ศ.1781-1893) ไม่มีกฎเกณฑ์และกฎหมายเนื่องจากมีประชากรน้อย มีขนาดเล็กจึงใช้หลักการปกครองแบบบิดากับบุตร ด้านกฎหมายได้นำเอาหลักพระธรรมศาสตร์มาใช้กับหลักพระราชศาสตร์ กฎหมายที่ค้นพบในสมัยกรุงสุโขทัย ได้แก่กฎหมายเกี่ยวกับภาษี กฎหมายเกี่ยวกบการจับจองทรัพย์สิน กฎหมายเกี่ยวกับมรดก เป็นต้น ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.1893-1912) ทีการตรากฎหมาย 8 ฉบับ กฎหมายฉบับหนึ่งคือ พระอัยการอาญาหลวง พ.ศ.1895ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะความผิดและโทษของข้าราชการที่กระทำผิดต่อหน้าที่และวินัย กฎหมายลักาณะพยาน กฎหมายลักษณะลักพา กฎหมายลักษณะผัวเมีย ในส่วนของสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.2310-2325)มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปีจึงไม่ปรากฏการปรับปรุงกฎหมาย ในส่วนสุดท้ายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปีพ.ศ.2348 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการจัดหมวดหมู่และปรับปรุงงกฎหมายให้สอดคล้องกับความยุติธรรม พระราชกำหนด กฎหมายที่ชำระสะสางเสร็จแล้วนี้เรียกกันว่ากฎหมายตราสามดวง จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฎิรูปกฎหมายให้เป็นแบบตะวันตกเพื่อที่จะปรับปรุงสัมพันธ์กับปรเทศตะวันตก[1]
ที่มาของกฎหมายปกครอง[แก้]
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มาสูงสุดของกฎหมายปกครองท้องถิ่น รัฐธรรมนูญมีเนื้อหาสำคัญคือ มีการวางระเบียบการปกครอง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนจึงไม่ได้บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐแต่ก็เป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพราะการปกครองท้องถิ่นต้องมาจากกระบวนการเลือกตั้งไม่ใช่การแต่งตั้ง ซึ่งแตกต่างจากการปกครองส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเหมือนกับการปกครองในระดับประเทศ ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมักจะกำหนดกำหนดหลักการปกครองตนเองของท้องถิ่นเอาไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญของแต่ประเทศ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเบลเยียม, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศฟินแลนด์
ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 2 แบบก็คือ
ทั่วไป[แก้]
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ้่นที่มีลักษณะหรือองค์ประกอบเหมือนกันทั่วประเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปอาจจะมีหลายประเภทก็ได้ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปของประเทศไทยจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล(นคร/เมือง/ตำบล)และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งในแต่ละประเภทจะมีการกำหนดลักษณะหรือองค์ประกอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ คือจะมีกฎหมายกำหนดวิธีการในการจัดตั้ง รูปแบบการบริหารจัดการ อำนาจหน้าที่ วิธีการในการจัดทำบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การคลังและงบประมาณเป็นแบบแผนเดียวกันทั่วประเทศ
พิเศษ[แก้]
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะหรือองค์ประกอบบางประการแตกต่างไปจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่ว ๆ ไป ความแตกต่างนี้สืบเนื่องมาจากลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ เอง เช่น เป็นท้องถิ่นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก เป็นท้องถิ่นที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หรือเป็นท้องถิ่นที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เป็นต้น ตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
กฎหมายปกครองท้องถิ่นที่ตราโดยรัฐสภา[แก้]
รัฐสภามีอำนาจในการตรากฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นในเรื่องที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ตัวอย่างของกฎหมายเกี่ยกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่
- กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของเทศบาล จังหวัด และภาค หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายกลางเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
- กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
- กฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งสรรอำนาจระหว่างเทศบาล จังหวัด ภาคและรัฐ
- กฎหมายเกี่ยวกับสถานะของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
การจัดการทำกฎหมายในรูปแบบประมวลกฎหมายท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์จัดขึ้นเพื่อรวบรวมพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพื้นฐานได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์บริหารส่วนตำบล, เทศบาล, กฎหมายการกระจายอำนาจหน้าที่และกฎหมายรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการรวบรวมจะช่วยให้การอ้างอิงข้อกฎหมายทำได้ง่ายขึ้นและเนื้อหาของกฎหมายมีความสอดคล้องกัน ในประเทศต่างๆก็มีกฎหมายที่ใกล้เคียงกับประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยโดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเทศฟิลิปปินส์มีกฎหมายที่ชื่อว่า “ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งฟิลิปปินส์ (The Local Goverment Code of The Philippines)” ประมวลกฎหมายฉบับบนี้ทำให้เกิดกระบวนการกระจายอำนาจขึ้น และอีกประเทศนึงก็คือ ประเทศญี่ปุ่น“กฎหมายว่าด้วยความเป็นอิสระของท้องถิ่น ค.ศ.1947(Local Autonomy Law Of 1947)” และประเทศสหราชอาณาจักร “พระราชบัญญัติว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค.ศ.2000(Local Goverment Act Of 2000)” มีสาระสำคัญที่เหมือนของประเทศไทยคือ รูปแบบการบริหารงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเงิน อำนาจหน้าที่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็คือ การรวมเอากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาไว้ในฉบับบเดียวกัน[2]
อ้างอิง[แก้]
- กระโดดขึ้น↑ ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์, กฎหมายการปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 3(กรุงเทพฯ:วิญญูชน, 2555), 30-42.
- กระโดดขึ้น↑ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายการปกครองท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 1(กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท, 2550), 207