สาระน่ารู้จากกองช่าง

08 ต.ค. 61

กระบวนงานการยื่นขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร

ขั้นตอนที่ 1 ยื่นเรื่อง

1.1การเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการขอใบอนุญาตฯ

(1) เสาเนาบัตรประชาชนผู้ยื่นคำขอ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา 1ชุด/ฉบับ

(2) สำเนาทะเบียนบ้านผู้ยื่นคำขอ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา 1ชุด/ฉบับ

(3) แผนผังบริเวณแบบแปลน และรายการก่อสร้าง 5 ชุด/ฉบับ

(4) สำเนาโฉนดที่ดิน/เอกสารสิทธิ์ ที่ใช้ในการก่อสร้างพร้อมรับรองสำเนาผู้ถือกรรมสิทธิ์ 1ชุด/ฉบับ

(5) หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน1ชุด/ฉบับ (กรณีเป็นที่ดินของผู้อื่น

(6) สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของที่ดิน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา 1 ชุด/ฉบับ

(7) สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของที่ดิน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา 1 ชุด/ฉบับ

(8) รายการคำนวณหนึ่งชุด(เฉพาะกรณีที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่)

(9) หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของอาคาร กรณีที่ตัวแทนของเจ้าของอาคารเป็นผู้ขออนุญาต)

(10 )สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

11) หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการ หรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

(12) หนังสือแสดงความยินยอม และรับรองผู้ออกแบบ และคำนวณอาคาร พร้อมทั้งสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแล้วแต่กรณี)

(13) หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน

(14) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ควบคุมงาน(เฉพาะกรณีที่เป็นอาคารที่มีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแล้วแต่กรณี)

   1.2 การยื่นคำขออนุญาตก่อสร้าง (แบบ อ.1)

(1) ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 1.1 ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้ง

(2) เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะนัดหมายการตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างที่จะขออนุญาต(กรณีเอกสารไม่ครบถ้วน/ไม่ถูกต้องเจ้าหน้าที่จะนัดหมายให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต นำเอกสาร/หลักฐานข้างต้นมายื่นเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสถานที่ก่อสร้างตามคำขอ

2.1 เจ้าหน้าที่ (นายช่าง/นายตรวจ) จะทำการตรวจสถานที่ที่ท่านได้แจ้งขอใบอนุญาต ดังนี้

ตรวจสอบว่าไม่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตรวจสอบเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาคารได้ ก่อสร้างดัดแปลง  รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายเสร็จแล้วนั้นได้กระทำขึ้นโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือสอบถามข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

-หมายเหตุ หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วสถานที่ก่อสร้างและแบบแปลง/ผังบริเวณถูกต้องแล้วจะเสนอเพื่อขอออกใบอนุญาตให้ก่อสร้าง แต่หากไม่

ถูกต้องจะส่งเรื่องกลับไปยังผู้ขอให้ทำการแก้ใหม่

ขั้นตอนที่ 3 การพิจารณาออกใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียม

   3.1 เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและตรวจสถานที่ถูกต้องแล้ว จะเสนอเอกสารรายงานต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) เพื่อออกใบอนุญาต และผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการดังนี้

(1)เจ้าหน้าที่นัดหรือแจ้งให้ไปชำระธรรมเนียมและค่าใบอนุญาตฯ

(2)มอบใบอนุญาตฯให้กับผู้ขอพร้อมใบสำคัญรับเงินค่าธรรมเนียมและค่าใบอนุญาต

ค่าธรรมเนียม/ค่าใบอนุญาต

1.ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร จำนวน 1 ในฉบับละ 20 บาท

2.ค่าธรรมเนียมการตรวจสอบแบบแปลนการก่อสร้าง

– อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้นหรือสูงไม่เกิน 12 เมตร   ตารางเมตรละ 0.50 บาท

– อาคารสูง 3 ชั้น หรือสูงเกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร  ตารางเมตรละ 2.00 บาท

– อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 15 เมตร  ตารางเมตรละ  4.00 บาท

– อาคารที่มีพื้นที่รับน้ำหนักบรรทุก 500กก./ตร.ม.  ตารางเมตรละ  4.00 บาท

– ที่จอดรถ ที่กลับรถ ทางเข้าออกของรถ  ตาราเมตรละ    0.50 บาท

– ป้าย  ตารางเมตรละ  4.00 บาท

– อาคารประเภทที่ต้องวัดความยาว เช่น เขื่อน ทาง หรือท่อระบายน้ำ รั้ว หรือกำแพงประตูรั้ว          เมตรละ 1.00 บาท

อายุใบอนุญาตฯ

– ไม่เกิน 1 ปี สำหรับอาคารที่มีพื้นที่น้อยกว่า 1 หมื่น ตารางเมตร

– ไม่เกิน 2 ปี สำหรับอาคารที่มีพื้นที่ 1 หมื่นตารางเมตร แต่ไม่ถึง 1 แสนตารางเมตร

– ไม่เกิน 3 ปี สำหรับอาคารที่มีพื้นที่ 1 แสนคารางเมตรขึ้นไป

           การขออนุญาตขุดดินถมดิน

ผู้ที่ประสงค์จะทำการขุดดิน ที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตร.ม.ให้แจ้งต่อพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด

ผู้ขออนุญาตขุดดินต้องเตรียมหลักฐานดังนี้

  1. แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
  2. แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
  3. วิธีขุดดินละการถมดิน

4.ระยะเวลาทำการขุดดิน

  1. ชื่อผู้ควบคุมงานฆ
  2. ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
  3. เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ.2548 ผู้ใดประสงค์ทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่องเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่เจ้าของท้างเคียงหรือบุคคลอื่น

การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินเกิน 2,000ตารางเมตร นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำจะต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด

บทกำหนดโทษ

ผู้ใดทำการขุดดินหรือถมดินโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากเจจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ค่าธรรมเนียม

– ค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งทำการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ 500 บาท